บริการทันตกรรมรากเทียม

ทันตกรรมรากเทียม

(Implants)

การฝังรากเทียม คือ การผ่าตัดที่นำโลหะผสมหรือโครงฝังลงในตำแหน่งของขากรรไกรภายใต้เหงือก เมื่ออยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว ทันตแพทย์จะนำฟันใหม่มาให้ยึดติดกับรากเทียม ทำให้ฟันยึดแข็งแรงเหมือนฟันแท้ๆ

รากเทียมจะทำงานร่วมกับกระดูกขากรรไกรเมื่อทั้งสองอย่างประสานกันอย่างสนิทแล้ว และจะให้เกิดการรองรับฟัน โดยฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมที่ทำงานร่วมกับรากเทียม จะไม่เลื่อนหรือลื่นออกจากจุดที่ต้องการ ซึ่งจะมีประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะตอนที่พูดและรับประทาน การฝังรากเทียมนี้ ช่วยในการทำฟันปลอม การครอบฟัน และที่ยึดฟันปลอมบนรากเทียมจะให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมหรือการทำฟันปลอมแบบธรรมดา

 

สำหรับบางคน การทำฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาไม่ได้ให้ความรู้สึกสบาย อาจมีบางจุด ที่ทำให้เจ็บ นูน หรือยื่นออกมา บางครั้งอาจมีความรู้สึกคลื่นไส้ ยิ่งไปกว่านั้นการที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาต้องใช้ติดกับฟัน หรือช่องว่างของฟันที่เหลือจากฟันที่หายไป ประโยชน์ของการทำรากเทียมก็คือไม่ต้องกรอฟันเพื่อที่จะเตรียม แนบสะพานฟันให้ติดกับฟัน แต่เจาะลึกลงไปในฟันที่จะแทนที่เลย

 

การเตรียมตัวสำหรับการฝังราก ต้องมีสุขภาพเหงือกที่แข็งแรง และมีกระดูกมากเพียงพอที่จะรองรับรากฟัน และต้องยอมรับที่จะรักษาสุขภาพของเหงือก และกระดูกให้สมบูรณ์ การดูแลความสะอาดของช่องปากอย่าง ละเอียดถี่ถ้วน และไปพบทันตแพย์ตามระยะเวลาที่กำหนดจะทำให้การฝังรากฟันมีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

โดยปกติแล้วการฝังรากฟันจะอยู่ได้ 10 – 20 ปี ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของรากฟัน และหากผู้ป่วยดูแลสุขภาพ ช่องปากเป็นอย่างดี และไปพบทันตแพทย์ตามกำหนด เพราะฟันกรามนั้นอาจได้รับการกระทบกระเทือน และฉีกขาด การฝังรากเทียมธรรมดานั้นไม่สามารถอยู่ได้นานมากถ้าอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของปาก

เป็นวิธีหนึ่งในการทดแทนฟันที่สูญเสียไป จัดอยู่ในประเภทฟันปลอมติดแน่นที่ยึดอยู่ใน ช่องปาก โดยการฝังรากเทียม ซึ่งรากเทียมจะทำจากวัสดุที่ทำให้ร่างกายยอมรับได้ดี ประเภท Titanium ฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร

 

มีส่วนประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้

 

  1. รากเทียม (Fixture) ซึ่งทำมาจากโลหะไทเทเนียม (Titanium) ซึ่งมีลักษณะ คล้ายรากฟันและจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ซึ่งสามารถยึดติดได้อย่างแนบแน่น โดยไม่ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบ และไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ
  2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) เมื่อฝังรากเทียมบนกระดูกขากรรไกร จะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนเพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี หลังจากนั้น จึงจะใส่เดือยรองรับครอบฟันลงบนรากเทียม เพื่อใช้เป็นที่รองรับ ครอบฟันต่อไป
  3. ครอบฟัน (crown) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือก ซึ่งจะทำมาจากเซรามิค (porcelain) มีรูปร่างลักษณะและสีเหมือนฟันธรรมชาติ

ขั้นที่ 1 การฝังรากเทียมลงในกระดูก หลังการผ่าตัด จะเย็บปิดแผล แล้วรอให้ร่างกาย สร้างกระดูกเพื่อยึดติด กับรากเทียม โดยปกติฟันล่างจะรอประมาณ 3 – 4 เดือน ส่วนในฟันบนจะใช้เวลานานกว่าฟันล่าง ประมาณ 6 เดือน

 

ขั้นที่ 2 เป็นผ่าตัดครั้งที่ 2 โดยทำการผ่าตัดเปิดเหงือกแล้วยึดส่วนแกนฟัน ( Abutment) ลงบนรากเทียมที่ฝังอยู่ในกระดูก จากนั้นจึงปิดแผล และจะเห็นว่ามีส่วน แกนฟัน โผล่ออกมาเพื่อเตรียมรองรับฟันปลอมต่อไป (ซึ่งขั้นตอนที่ 2 นี้ อาจไม่มีความจำเป็น ถ้าในการผ่าตัดครั้งแรก รากเทียมยึดติดกับกระดูกได้แน่นพอ)

 

ขั้นที่ 3 เป็นการทำฟันปลอมทับบนแกนฟันและรากเทียม ซึ่งอาจจะเป็นฟันปลอมติดแน่น เช่น ครอบฟัน หรือ ฟันปลอมถอดได้ทั้งปากที่ทับบนรากฟันเทียม

 

ขั้นที่ 4 ตรวจเช็คสม่ำเสมอ

ทันตแพทย์ รากเทียม

ทพญ.ศิริกาญจน์ ทองมีอาคม (หมอมีมี่)
ทันตแพทย์เพื่อความงาม, ทันตแพทย์รากเทียม
ผศ.ทพ.ดร. เลิศฤทธิ์ ศรินนภากร (หมอม่ำ)
ทันตแพทย์รากเทียม, ทันตแพทย์ใส่ฟันทดแทน, ทันตแพทย์บดเคี้ยว
ทพญ.จารีย์รัตน์ ณ วงศ์ (หมอเพียว)
ทันตแพทย์รากเทียม, ทันตแพทย์ใส่ฟันทดแทน

ใบรับประกัน

รากเทียม

ระยะเวลา 3-10 ปี

ตามระยะเวลาการรักษา Smile 1 รักษาเสร็จตามเวลา Smile 2 แก้ปัญหาตรงจุด เข้าใจตรงกัน Smile จัดฟัน3 ค่ารักษาไม่บานปลาย จ่ายตามที่ตกลง Smile 4 ดูแลไม่ทิ้งกัน

ติดต่อสอบถาม

ข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อสอบถาม

ข้อมูลเพิ่มเติม

มาตรฐานสากล ระดับโรงพยาบาล

ที่ LDC Dental เรามุ่งมั่นและใส่ใจ ในการให้บริการ ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ โลเคชั่นที่สะดวกสบายและครอบคลุม เครื่องมือที่ทันสมัย และเทคโนโลยีการรักษาใหม่ล่าสุด “คุณจึงมั่นใจได้ว่า…คุณจะได้รับการรักษาและบริการ จาก LDC Dental บนมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา”

ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษา หรือสอบถามเส้นทาง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Contact Form -- TH
Optimized by Optimole