เอกซเรย์ฟันสำคัญอย่างไร?

ในการมาหาหมอฟันแต่ละครั้งจำเป็นด้วยหรือที่ต้องเอกซเรย์ฟัน เรามีคำตอบค่ะ

การมาพบทันตแพทย์แม้ว่าจะเป็นการมาตรวจฟันครั้งแรกหรือมาพบตามนัดนั้น แต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ฟันทุกครั้งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาว่าสมควรต้องส่งเอกซเรย์ฟันหรือไม่ โดยพิจารณาการตรวจในช่องปาก การซักประวัติ ภาพรังสีที่เคยมี การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ (Caries risk assessment) และการประเมินสภาวะสุขภาพช่องปากและร่างกาย นำมาประกอบกันเพื่อพิจารณาความเหมาะสมหรือความจำเป็นในการส่งถ่ายเอกซเรย์ ซึ่งภาพเอกซเรย์ที่ใช้ในทางทันตกรรมนั้นมีหลายแบบ เช่น ภาพรังสีรอบปลายราก ภาพรังสีกัดปีกภาพรังสีปริทัศน์ และภาพรังสีกะโหลกศีรษะ เป็นต้น

กรณีใดบ้าง ที่จะต้องทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ฟัน
ภาพเอกซเรย์เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่มีส่วนช่วยทันตแพทย์ในการให้การวินิจฉัยโรค วางแผนการรักษาตลอดจนการติดตามผลการรักษา ภาพเอกซเรย์ฟันจึงมักใช้ประกอบการรักษาทางทันตกรรมต่างๆ เช่น

x-ray-02

การเอกซเรย์ฟันเพื่อถอนฟันหรือผ่าฟันคุด:

ในงานถอนฟันและผ่าฟันคุดนั้นภาพเอกซเรย์มีประโยชน์มากตั้งแต่การวินิจฉัยโรคก่อนถอนฟัน การศึกษารายละเอียดของฟันเช่น ความโค้งงอของรากฟัน ขนาดของรอยผุซึ่งจะส่งผลให้ฟันแตกได้ง่ายขณะถอนฟัน ลักษณะและตำแหน่งของฟันคุดว่าอยู่ใกล้กับกายวิภาคที่สำคัญหรือไม่ เช่น อยู่ใกล้กับโพรงอากาศแก้ม เส้นประสาทขากรรไกรล่าง เป็นต้น และภาพรังสียังใช้ในการติดตามผลการถอนฟันในกรณีที่เกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนหลังถอนฟัน เช่น รากฟันหักแผลถอนฟันไม่หาย เป็นต้น

x-ray-03

การเอกซเรย์เพื่อตรวจดูรอยผุของฟันด้านประชิด :

รอยผุบริเวณด้านประชิดนั้นตรวจพบได้ยากโดยเฉพาะรอยผุที่มีขนาดเล็กหรือรอยผุซ้ำใต้ขอบวัสดุ ภาพรังสีกัดปีกจึงมีประโยชน์และเป็นวิธีที่เหมาะสมในการตรวจหารอยผุด้านประชิดควบคู่ไปกับการตรวจในช่องปากนอกจากนี้ภาพรังสีกัดปีกยังช่วยประเมินสุขอนามัยช่องปากของผู้ป่วยอีกด้วย

x-ray-01

การเอกซเรย์ฟันเพื่อการรักษารากฟัน :

ภาพเอกซเรย์ฟันมีบทบาทสำคัญในการรักษาคลองรากฟัน โดยทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาจะนำภาพรังสีไปใช้ประเมินว่าฟันซี่นั้นๆสมควรได้รับการรักษาคลองรากฟันหรือไม่ รวมทั้งวางแผนจะทำการรักษาฟันซี่นั้นอย่างไร เมื่อผู้ป่วยถูกวินิจฉัยแล้วว่าจะต้องทำการรักษาคลองรากฟันในขั้นตอนหรือกระบวนการรักษาคลองรากฟัน ผู้ป่วยต้องรับการเอกซเรย์ฟันซี่เดิมหลายครั้ง เช่น ขั้นตอนการประเมินความยาวรากฟัน การลองแท่งวัสดุสำหรับอุดคลองรากฟัน ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะต้องมีความละเอียดแม่นยำ เพื่อให้การรักษารากฟันเป็นไปอย่างสำเร็จหลังจากผู้ป่วยรักษารากฟันเสร็จ รวมทั้งบูรณะฟันเพื่อให้ใช้บดเคี้ยวได้เหมือนเดิมแล้วจะต้องมีการเอกซเรย์ฟันเป็นระยะ

x-ray-05

การเอกเรย์ฟันเพื่อการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ :

โรคปริทันต์อักเสบนั้นเกิดได้ทั้งในวัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงวัย ซึ่งมีสาเหตุจากคราบจุลินทรีย์ที่เกาะบริเวณรอบตัวฟันระยะแรกจะส่งผลให้เหงือกอักเสบ สังเกตได้จากการมีเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือเหงือกบวมแดงเป็นต้น ซึ่งในระยะแรกนี้จะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในภาพรังสี เมื่อโรคลุกลามมากขึ้นจนกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ จะพบร่องลึกปริทันต์และการละลายของกระดูกที่หุ้มรอบรากฟัน ซึ่งจะปรากฏในภาพรังสี ภาพรังสีจึงมีประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงของโรคและบอกการทำลายกระดูกในลักษณะต่างๆ รวมถึงระดับของกระดูกที่หุ้มรอบรากฟัน และใช้ในการติดตามผลการรักษา

x-ray-04

การเอกซเรย์ฟันเพื่อการจัดฟัน:

ในงานทันตกรรมจัดฟันนั้นทันตแพทย์ต้องรวบรวมข้อมูลจากทั้งการตรวจภายในช่องปากและภายนอกช่องปากแบบจำลองฟัน รวมถึงภาพรังสีเพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา ภาพรังสีสามารถบอกลักษณะของฟัน กระดูกขากรรไกร กะโหลกศีรษะและใบหน้า ซึ่งทันตแพทย์จะนำภาพรังสีเหล่านี้จะมาวิเคราะห์อย่างละเอียดเพื่อหาความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆที่ไม่สามารถพิจารณาได้จากการตรวจด้วยสายตาแต่เพียงภายนอก

  • ระหว่างที่ทำการเอกซเรย์ฟันนั้นจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?
    ในระหว่างที่ทำการเอกซเรย์ในช่องปาก ผู้ป่วยต้องถอดโลหะบริเวณใบหน้าและภายในช่องปากเช่น แว่นตา เครื่องมือถอดได้ในช่องปาก อาทิฟันเทียมถอดได้ เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ เครื่องมือคงสภาพฟันเป็นต้น หากเป็นการเอกซเรย์นอกช่องปาก ผู้ป่วยต้องถอดสร้อยคอ ต่างหู กิ๊บติดผมออก เพื่อไม่สิ่งเหล่านั้นมาบดบังลักษณะของกระดูกและฟัน ขณะทำการเอกซเรย์ผู้ป่วยต้องอยู่นิ่งที่สุดจนกว่าเสียงสัณญาณของเครื่องเอกซเรย์จะหยุด

 

  • รังสีที่ใช้ในการเอกซเรย์ฟันนั้นมีอันตรายหรือไม่
    รังสีที่ใช้ในการเอกซเรย์ฟันคือรังสีเอกซ์ (X-ray) ซึ่งเป็นรังสีชนิดเดียวกับการเอกซเรย์ทางการแพทย์ ส่วนปริมาณรังสีที่ใช้ในการเอกซเรย์ฟันนั้นค่อนข้างน้อยมากโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปริมาณรังสีที่ใช้เอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยในทางการแพทย์ อย่างไรก็ตามควรเอกซเรย์ฟันเท่าที่จำเป็นตามที่ทันตแพทย์วินิจฉัยว่าสมควรและเมื่อผู้ป่วยมารับการเอกซเรย์ฟัน เจ้าหน้าที่จะต้องสวมเสื้อและปลอกคอกันรังสีให้กับผู้ป่วยทุกครั้งอย่างไรก็ดี ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพช่องปากอย่างง่ายด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งให้สะอาดร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน และควรมารับการตรวจฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน – 1 ปี

การเอกซเรย์ฟันแต่ละครั้งต้องได้รับการวินิจฉัตจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เราถึงจะทำการรักษาได้ เพราะหากไม่ได้รับการตรวจที่แน่ชัดบางครั้งการรักษาอาจไมไ่ด้ผลที่ดีเท่าที่ควร ยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีที่มากขึ้น การรักษาแบบสมัยใหม่มีความรวดเร็ว แม่นยำ และประหยัด คุณจึงควรเลือกใช้บริการกับคลินิกทันตกรรม ที่ได้รับการยอมรับและมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อฟันของคุณค่ะ

ข่าวอื่นๆ

ยิ้มนี้จะสวยมากกว่าเดิม ด้วยทันตกรรมปิดช่องฟัน

สาระเรื่องฟัน

สุขภาพฟันเด็ก ฟลูออไรด์ต้องเพียงพอ

สาระเรื่องฟัน

ฟันคุดคืออะไร เป็นปัญหากับคุณจริงหรือ?

สาระเรื่องฟัน

เครื่องมือกันฟันล้มวัยเด็ก สำคัญแค่ไหน?

สาระเรื่องฟัน

ทันตกรรมเพื่อความงามด้วยวีเนียร์ (Veneer)

สาระเรื่องฟัน

การรักษารากฟันเด็ก สำคัญหรือไม่?

สาระเรื่องฟัน

ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษา หรือสอบถามเส้นทาง

Optimized by Optimole