ฟันของเหล่าลูกน้อย จะแข็งแรงได้นั้น “ฟลูออไรด์” ต้องเพียงพอ แล้วจะทราบได้อย่างไร? เรามีคำตอบให้กับคุณค่ะ
ฟลูออไรด์ เป็นสารช่วยป้องกัน และลดการผุของฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพให้ผลต่อฟันคือ มื่อฟันขึ้นแล้ว สารฟลูออไรด์จะช่วยลดการสร้างกรดจากจุลินทร์ทรีย์ และยังสามารถช่วยทำให้การผุชะลอตัว ไม่ผุเพิ่มขึ้นในฟันที่ผุเริ่มแรกได้
การใช้ฟลูออไรด์มี 2 ลักษณะ คือ การรับประทานและการสัมผัสกับผิวฟัน
- ชนิดรับประทาน มักอยู่ในรูปแบบยาเม็ด ยาน้ำ วิตามิน น้ำดื่มและนมผสมฟลูออไรด์
- ชนิดสัมผัสกับผิวฟัน อยู่ในรูปแบบยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และน้ำยาเคลือบฟลูออไรด์เข้มข้นของทันตแพทย์

ฟลูออไรด์ชนิดรับประทาน
ให้ผลดีต่อฟันที่ยังไม่ขึ้น และเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 12 ปี ส่วนชนิดสัมผัสกับผิวฟันให้ผลดีต่อฟันที่ขึ้นมาแล้ว เหมาะกับคนทั่วไปจากการศึกษาพบว่า ปริมาณที่เพียงพอสำหรับเด็ก ไม่ควรเกิน 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เนื่องจากการคำนวณที่ยุ่งยากข้างต้น คนทั่วไปจึงไม่อาจทราบปริมาณฟลูออไรด์ที่เพียงพอของตนเองได้
ฉะนั้นเคล็ดลับการใช้ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุนั้น ต้องใช้เพียงเล็กน้อยแต่สม่ำเสมอ จึงจะเกิดผลดีและไม่เป็นอันตราย โดยเฉพาะชนิดรับประทานควรปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือศึกษาจากผลิตภัณฑ์การใช้ฟลูออไรด์ก่อนใช้งานอย่างรอบคอบ
ฟลูออไรด์ชนิดเคลือบ (Topical Fluoride Gel)
– ฟลูออไรด์ชนิดเคลือบโดยทันตแพทย์ ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนว่า ควรเริ่ม และหยุดเคลือบฟลูออไรด์ เมื่ออายุเท่าใด แต่เนื่องจากเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี โอกาสกลืนฟลูออไรด์จากการเคลือบสูง ตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15- 16 ปี ยกเว้นในกรณีที่เป็นกลุ่มที่มีระดับ ความเสี่ยงต่อโรคฟันผุสูง ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป
– วิธีใช้ฟลูออไรด์ชนิดเคลือบที่มีลักษณะข้นเป็นเจล โดยใส่ฟลูออไรด์ในถาดที่ทำไว้เฉพาะ ให้สัมผัสกับฟันได้ทั่วถึง ประมาณ 4-5 นาที ซึ่งถาดใส่ฟลูออไรด์มีขนาดต่างๆ กัน เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะกับปาก และ ฟันของเด็ก
– กรณีที่สุขภาพฟัน และช่องปากให้เด็กบ้วนปากเป่าฟัน ให้แห้ง แล้วเคลือบฟลูออไรด์ได้เลย หรือให้เด็กแปรงฟันเอง โดยทันตแพทย์ช่วยแนะนำวิธีแปรงฟันที่ถูกต้องก่อนเคลือบฟลูออไรด์
การเคลือบฟลูอไรด์ โดยให้ฟลูออไรด์สัมผัสที่ผิวฟัน ใช้เวลานานประมาณ 4 นาที เมื่อเคลือบฟลูออไรด์เสร็จแล้ว จะมีการดูดฟลูออไรด์ที่เหลือออกให้มากที่สุด แล้วให้เด็กบ้วนเองจนหมด ทั้งนี้ ห้ามบ้วนน้ำ ดื่มน้ำ และกินอาหาร 30 นาที เพื่อให้มีการรับฟลูออไรด์ที่ผิวเคลือบฟัน มากที่สุด สำหรับเด็กที่ไม่สามารถเคลือบฟลูออไรด์โดยใช้ถาดได้ อาจใช้วิธีการทาฟลูออไรด์ชนิดเคลือบ แต่ต้องกันน้ำลาย และให้ฟลูออไรด์เปียกฟันตลอด 4 นาที
ข้อควรระวังในการใช้ฟลูออไรด์ชนิดเคลือบ
1. การเป็นพิษเฉียบพลัน อาการที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง เป็นต้น แต่มีข้อสังเกตว่า จะต้องกลืนฟลูออไรด์ชนิดเคลือบไปเกือบทั้งหมด การรักษาแบบฉุกเฉิน ได้แก่ ให้ดื่มนมมากๆ เพื่อขลอการ
ดูดซึม
2. การเป็นพิษเรื้อรัง ปัจจุบันยังไม่มีรายงานวิจัย ที่แสดงให้เห็นว่า การเคลือบฟลูออไรด์มีความสัมพันธ์ หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันตกกระ (Fluorosis)

ขั้นตอนการเคลือบฟลูออไรด์
- ทำความสะอาดผิวฟัน โดยการจัดฟันในกรณีที่มีคราบสีติดที่ฟัน หรือมีแผ่นคราบจุลินทรีย์และหินปูน
- เลือก TRAY ให้พอดีกับฟัน โดยคลุมฟันซี่สุดท้ายในช่องปาก
- เตรียมฟันให้แห้งโดยการเป่าลมให้แห้งเพื่อให้คราบเดิมของฟลูออไรด์เจลคงที่ และให้ผลสูงสุดในการป้องกันฟันผุ
- ใส่ฟลูออไรด์เจลลงใน TRAY
- ใส่ TRAY บนและล่าง เพื่อทำการเคลือบฟลูออไรด์
- หลังจากนำ TRAY ออก ทันตแพทย์จะทำการดูดเจลที่เหลือออก
- ห้ามบ้วนน้ำ ดื่มน้ำ และรับประทานอาหาร 30 นาที เพื่อให้ฟลูออไรด์เคลือบฟันได้มากที่สุด
ผงขัดฟันผสมฟลูออไรด์ (Fluoride-containing Prophylaxis Paste)
ผงขัดฟันผสมฟลูออไรด์มีฟลูออไรด์ 12,300 ส่วนในล้านส่วน ในขนาด 1 กรัม มีฟลูออไรด์ 12.3 มิลลิกรัม ผงขัดฟันจะใช้กรณี
- ใช้ขัดฟันเพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพฟัน ได้อย่างชัดเจน เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
- ใช้ขัดฟันก่อนเคลือบฟลูออไรด์ กรณีมีคราบสี แผ่นคราบจิลินทรีย์ และหินปูน
- ใช้เมื่อเด็กมาทำฟันครั้งแรก เพื่อเตรียมเด็กให้คุ้นเคยกับการทำฟัน
- ควรใช้ผงขัดฟันผสมฟลูออไรด์ปริมาณที่เหมาะสมในเด็กเล็ก ควรระวังไม่ให้เด็กกลืนผงขัดฟัน ยังไม่มีรายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การขัดฟันด้วยผงขัดฟันผสมฟลูออไรด์ เพียงอย่างเดียว สามารถช่วยป้องกันฟันผุได้
น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ (Fluoride Mouthrinse)
น้ำยาบ้วนปากที่วางขายในท้องตลาดโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทที่มีฟลูออไรด์ผสม เช่น Reach, Listerine ผสมฟลูออไรด์
2. ประเภทที่ไม่มีฟลูออไรด์ผสม ได้แก่
– น้ำยาบ้วนปากเพื่อลดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Listerine (original)
– น้ำยาบ้วนปากก่อนการแปรงฟัน เพื่อขจัดคราบอาหาร และแบคทีเรีย เช่น Colgate Plax
3. น้ำยาบ้วนปากเพื่อลดอาการเสียวฟัน เช่น Emoform
เฉพาะประเภทที่มีฟลูออไรด์ผสมเท่านั้น ที่มีผลในการป้องกันฟันผุ น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ สามารถลดอัตราการเกิดฟันผุได้ โดยผลของการป้องกันฟันผุ จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่ด้านประชิดของฟัน
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี หรือในคนไข้พิการ ซึ่งไม่สามารถควบคุมการกลืนได้
2.ในการใช้ทุกครั้ง ทันตแพทย์ควรอธิบายวิธีการใช้ น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ให้กับผู้ป่วย และผู้ปกครองให้เข้าใจอย่างถูกต้อง
3. การกลืนน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ ในปริมาณมาก ในครั้งเดียว อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากปริมาณฟลูออไรด์นั้น สูงถึงระดับอันตราย
4. ยังไม่มีรายงานวิจัยที่แสดงว่า น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ จะมีผลต่อการเกิดฟันตกกระ
ข้อควรระวัง หรืออันตรายจากการใช้ฟลูออไรด์
ฟลูออไรด์มีคุณสมบัติคล้ายสารอาหารอื่นๆ ถ้าได้รับในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกายก็จะเป็นประโยชน์ แต่ถ้าได้รับมากเกินไป ก็จะเกิดโทษต่อร่างกาย โทษของฟลูออไรด์ต่อร่างกาย พบได้ 2 ลักษณะคือ
1. การเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณสูงมาก ในครั้งเดียว มีอาการตั้งแต่คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หากได้รับปริมาณสูงมากๆ จะมีผลต่อระบบหัวใจ หรือเสียชีวิตได้
2. การเป็นพิษแบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่สูงกว่า ระดับที่เหมาะสม คือ 2-10 มิลิลกรัมต่อวัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี จะเกิดผลข้างเคียงต่อฟัน คือ ฟันมีสีขาวขุ่น จนถึงขั้นฟันตกกระ และมีผลต่อกระดูกด้วย แต่สำหรับนมฟลูออไรด์ จะมีขนาดฟลูออไรด์ที่เหมาะสม มีการควบคุมคุณภาพ และปริมาณฟลูออไรด์ จึงมีความปลอดภัยเพียงพอ ที่จะใช้ดื่มเป็นประจำ เพื่อป้องกันฟันผุ อย่างมี ประสิทธิภาพ
นอกจากการใช้ ฟลูออไรด์ ป้องกันฟันผุแล้ว การทานอาหารก็ส่งผลต่อสุขภาพฟันเช่นกัน และการใส่ใจพบทันตแพทย์ก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เพราะทันตแพทย์เฉพาะทางจะช่วยให้คุณทราบถึงการดูแลและปัญหาที่เกิดขึ้นกับฟันของลูกคุณ ได้อย่างตรงจุด อย่าลืมพาลูกน้อยมาตรวจสุขภาพฟันและหมั่นแปรงฟันทุกวันหลังอาหารนะค่ะ