การถอนฟัน การรักษาฟันที่รวดเร็วที่สุด

               การถอนฟัน ถือเป็นหนึ่งในการรักษาสุขภาพช่องปากไว้ค่ะ และแน่นอนว่าเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุด แต่เราก็ต้องยอมรับการสูญเสียฟันของเราไปด้วยค่ะ

สภาวะฟันที่ต้องถอน

  1. ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันหรือฟันที่มีหนองปลายรากฟันและมีอาการบวมบริเวณหน้าอย่างมาก ไม่สามารถให้การรักษาทางทันตกรรมด้านอื่นๆ เช่น การรักษาคลองรากฟัน
  2. ฟันที่มีโรคปริทันต์รอบๆตัวฟันที่รุนแรงอาจจะร่วมกับการเป็นหนองปริทันต์
  3. ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุในลักษณะฟันหักหรือขากรรไกรหักผ่านฟันซึ่งทันตแพทย์พิจารณามาแล้ว ไม่สามารถเก็บไว้ได้
  4. ฟันคุดหรือฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากตามปกติ
  5. ฟันที่มีพยาธิสภาพ เช่น เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก
  6. ฟันเกินที่ขึ้นมาในลักษณะที่ไม่เป็นระเบียบ
  7. ฟันลักษณะอื่นๆ เช่น ฟันที่มีรูปร่างผิดปกติหรือฟันที่ขึ้นในตำแหน่งที่ผิดปกติที่ไม่ได้ใช้งาน

การเตรียมตัวก่อนถอนฟัน

  1. เตรียมร่างกายให้พร้อมเช่น พักผ่อนหลับนอนให้เต็มที่
  2. จิตใจพร้อมที่จะถอนฟัน หากท่านกลัวหรือเครียดมากควรบอกทันตแพทย์หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบด้วย
  3. รับประทานอาหารแต่พอประมาณ อย่าปล่อยให้หิวมากเกินไปเพราะอาจจะทำให้เป็นลมได้ง่ายในขณะถอนฟัน
  4. ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไปเพราะอาจเกิดปัญหาภายหลังถอนฟันได้ เช่น ทางเดินหายใจอุดตันจากการสำลักอาหารซึ่งเป็นปัญหาแทรกซ้อนได้

ผู้มีโรคประจำตัวควรทำอย่างไร

ก่อนทำการถอนฟัน ทันตแพทย์จะทำการสัมภาษณ์ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย วัดความดันโลหิต ตรวจนับชีพจร ผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคเลือด ควรบอกให้ทันตแพทย์ทราบอย่างละเอียด โดยเฉพาะผู้ที่มี ประวัติโรคเลือดออกง่าย หยุดยาก ควรถอนฟันภายในโรงพยาบาลเพราะอาจจะต้อง เตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนถอนฟันเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดภายหลังการถอนฟัน

วิธีการถอนฟันทำอย่างไร

  1. ก่อนที่จะทำการถอนฟัน ทันตแพทย์จะตรวจประวัติทางการแพทย์และประวัติทางทันตกรรมอย่างถี่ถ้วน และจะทำการเอ็กซ์เรย์ฟัน
  2. การเอ็กซ์เรย์จะทำให้เห็นถึงความยาว รูปร่างและตำแหน่งของฟันและกระดูกบริเวณรอบๆ ฟัน จากข้อมูลที่ได้ ทันตแพทย์จะสามารถประมาณระดับความยุ่งยากของกระบวนการการถอนฟัน และตัดสินใจว่าจะส่งตัวคุณไปหาผู้เชี่ยวชาญ หรือ ศัลยแพทย์ช่องปาก หรือไม่
  3. ก่อนทำการถอนฟัน ทันตแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณรอบๆ ฟันที่จะถูกถอน
  4. สำหรับการถอนฟันตามปกติธรรมดา เมื่อบริเวณที่จะถอนฟันเกิดอาการชาแล้ว ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องแซะในการทำให้ฟันหลวมจากเหงือก จากนั้นทันตแพทย์จะถอนฟันออกมาด้วยคีมถอนฟัน ทันตแพทย์อาจจะต้องปรับสภาพกระดูกที่อยู่ด้านล่างให้มีความเรียบเนียนขึ้น เมื่อทันตแพทย์ทำการถอนฟันเสร็จสิ้นแล้ว ทันตแพทย์อาจจะทำการปิดแผลด้วยการเย็บแผล

ข้อปฏิบัติหลังการถอนฟันและผ่าตัดฟันคุด

  1. กัดผ้ากอซให้แน่นพอสมควร 2 ชั่วโมง แล้วคายผ้ากอซทิ้ง หากมีเลือดไหลออกมา ให้วางผ้ากอซใหม่บนแผล แล้วกัดต่ออีก 1 ชั่วโมง
  2. ขณะกัดผ้ากอซให้กลืนน้ำลายและเลือด ห้ามดูดแผล ห้ามบ้วนน้ำลายเพราะอาจทำให้เลือดออกและหยุดช้า
  3. ยาชาอาจชาได้ 3-4 ชม.(กรณีทำฟันล่าง)
  4. เพื่อลดอาการบวมหลังการถอนและการผ่าตัด
    ประคบเย็นข้างแก้ม 2 วันแรก วันที่ 3 ประคบอุ่น
  5. แปรงฟันบริเวณแผลด้วยแปรงขนนุ่ม
  6. ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามสูบบุหรี่หรือทานอาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด
  7. ต้องทานยาปฏิชีวนะตามทันตแพทย์จ่ายให้ครบ ส่วนยาแก้ปวดทานเมื่อมีอาการปวด
  8. ห้ามออกกำลังกายหนักเกินควร

ข่าวอื่นๆ

เอกซเรย์ฟันสำคัญอย่างไร?

สาระเรื่องฟัน

ยิ้มนี้จะสวยมากกว่าเดิม ด้วยทันตกรรมปิดช่องฟัน

สาระเรื่องฟัน

สุขภาพฟันเด็ก ฟลูออไรด์ต้องเพียงพอ

สาระเรื่องฟัน

ฟันคุดคืออะไร เป็นปัญหากับคุณจริงหรือ?

สาระเรื่องฟัน

เครื่องมือกันฟันล้มวัยเด็ก สำคัญแค่ไหน?

สาระเรื่องฟัน

ทันตกรรมเพื่อความงามด้วยวีเนียร์ (Veneer)

สาระเรื่องฟัน

ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษา หรือสอบถามเส้นทาง

Optimized by Optimole