ฟันคุดคืออะไร เป็นปัญหากับคุณจริงหรือ?

ฟันคุด  คุณเป็นหนึ่งคนที่สงสัยไหมค่ะ? ทำไมต้องผ่าออก แล้วฟันคุดคืออะไร มีประโยชน์หรือไม่
และเมื่อคุณผ่าตัดเอาออกแล้วจะดูแลตัวเองอย่างไร? เรามีคำตอบค่ะ

ฟันคุดคือ
ฟันคุด เป็นฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติ เนื่องจากไม่มีที่พอหรือมีสิ่งที่ขัดขวางการขึ้นของฟันซี่นั้น สิ่งขัดขวางการขึ้นของฟัน เช่น เหงือกที่หนา กระดูก ฟันบางซี่ หรือ ทิศทางการขึ้นของปันที่ผิดปกติ
ฟันคุดส่วนใหญ่เกิดจากขนาดของขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน

สาเหตุของฟันคุด
สาเหตุของฟันคุดยังไม่มีการศึกษาถึงสาเหตุที่แน่นอน ส่วนใหญ่จะเกิดมาจากขนาดของขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน ถ้าขนาดของขากรรไกรเล็ก แต่ขนาดของฟันโต ฟันจึงไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ ทำให้เกิดเป็นฟันคุด ดังนั้น ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องมีฟันคุด

ถ้าเรามีขนาดของขากรรไกรใหญ่พอที่จะให้ฟันขึ้นได้ ก็จะ ไม่เรียกว่าฟันคุด เพราะว่าถ้าฟันเล็กแล้วขากรรไกรโต ฟันขึ้นได้ทุกซี่ ก็จะไม่มีฟันคุดก็จะเป็นฟันขึ้นธรรมดาเท่านั้น

ฟันคุด เป็นลักษณะของฟันกรามแท้ โผล่ขึ้นไม่พ้นกระดูกและเหงือก

อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ผลกระทบจากฟันข้างเคียงที่บดบังทำให้ไม่สามารถขึ้นมาได้ โดยส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงอายุ 18-25 ปี

ลักษณะอาการของฟันคุด

1.บางคนอาจอาการบวมที่หน้า

2.ปวดบวมบริเวณเหงือก

3.อักเสบและติดเชื้อ

4. เป็นฝีในช่องปาก

feed-tamplate-01

จุดประสงค์ของการผ่าฟันคุด

เพื่อป้องอาการปวดกัน เพราะตัวฟันคุดเองมีแรงผลักเพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกันหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร อาการปวดมีตั้งแต่ทนได้จนกระทั่งปวดมาก ในบางครั้งอาจมีอาการปวดแบบส่งต่อหลังจากตำแหน่งฟันคุดไปยังบริเวณอื่นของใบหน้า เช่น ปวดหน้าหู ปวดตา ปวดศีรษะ เป็นต้น

เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คางหรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

•เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่

• เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบรากฟันหรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป

•เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก ฟันคุดที่ทิ้งไว้นานอาจจะทำให้เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุดขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น หากไม่เคยได้รับการตรวจฟันมักจะรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นใบหน้าเอียงหรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ซึ่งถ้าพบและรีบทำการผ่าตัดออกได้เร็ว โอกาสสูญเสียอวัยวะขากรรไกรจะน้อยลง ยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่ถ้าถุงน้ำหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากๆ ก็อาจต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปใบหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้น

เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุหรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย

•วัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น ในการจัดฟัน มักต้องถอนฟันกรามซี่ที่สามออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ และแรงดันของฟันคุดยังมากพอที่จะผลักให้ฟันข้างเคียงรับแรงกระทบต่อๆ กันไปจนฟันบิดซ้อนเกได้ ในการจัดฟันทันตแพทย์จึงมักแนะนำให้ถอนฟันคุดออกก่อนใส่เครื่องมือ

ผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์การผ่าฟันคุดหลายคนอาจสงสัยว่าเราจะดูแลตัวเองอย่างไรหลังผ่าฟันคุดหรือผ่าตัดในช่องปาก เราจึงมีคำแนะนำมาฝาก

1. กัดผ้าก็อซให้แน่นอยู่ตามปกติประมาณ 1- 2 ชั่วโมงเพื่อให้เลือดหยุดไหล
2. กลืนน้ำลายให้แห้ง อย่าบ้วนปากหรือน้ำลายระหว่างกัดผ้าก็อซอยู่เพราะจะทำให้เลือดหยุดช้า
3. ครบ 1-2 ชั่วโมงให้คายผ้าก็อซทิ้งแล้วอยู่เหมือนปกติต่อไป
4. ในวันแรกหากมีการบวม ให้ใช้ผ้าเย็นหรือผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณที่ผ่า อย่าอมน้ำแข็งในปาก
5. หลังจากวันแรกแล้วให้เปลี่ยนเป็นประคบบริเวณเดิมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นหรือกระเป๋าน้ำอุ่นจนกว่าจะรู้สึกปกติ
6. ถ้ารู้สึกปวดแผลให้รับประทานยาที่ได้หลังผ่า
7. หลีกเลี่ยงการใช้งานด้านที่ผ่า ไปก่อนระยะหนึ่งจนกว่าจะรู้สึกปกติ
8. ถ้ารู้สึกปวดแผลมากขึ้นหรือบวมให้รีบกลับไปพบทันตแพทย์อีกครั้ง
9. ถ้ามีการเย็บแผลให้กลับไปตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน

ค่ารักษา

ผ่าฟันคุดโดยไม่ต้องกรอกระดูก 3,000 บาท ไม่รวมค่าวัสดุ-อุปกรณ์งานศัลยกรรม

ผ่าฟันคุดโดยกรอกระดูก 4,500 บาท ไม่รวมค่าวัสดุ-อุปกรณ์งานศัลยกรรม

ผ่าตัดถอนฟันที่ฝังในกระดูก 6,000 บาท  ไม่รวมค่าวัสดุ-อุปกรณ์งานศัลยกรรม

Other news

เอกซเรย์ฟันสำคัญอย่างไร?

All about Teeth

ยิ้มนี้จะสวยมากกว่าเดิม ด้วยทันตกรรมปิดช่องฟัน

All about Teeth

สุขภาพฟันเด็ก ฟลูออไรด์ต้องเพียงพอ

All about Teeth

เครื่องมือกันฟันล้มวัยเด็ก สำคัญแค่ไหน?

All about Teeth

ทันตกรรมเพื่อความงามด้วยวีเนียร์ (Veneer)

All about Teeth

การรักษารากฟันเด็ก สำคัญหรือไม่?

All about Teeth

Contact us for treatment information or directions

Optimized by Optimole