สะพานฟัน คืออะไร ?

               สะพานฟัน อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการจะใส่ฟันปลอม เรามาทำความรู้จักกันว่า สะพานฟัน คืออะไร แล้วเมื่อไหร่ควรจะใช้การทำสะพานฟันในการรักษาฟันค่ะ

สะพานฟัน ก็คือ ฟันปลอมชนิดที่ติดแน่น คือใส่แล้วไม่ต้องถอดเข้าถอดออกอีก พูดง่าย ๆว่าติดถาวรเหมือนฟันธรรมชาติเลย และหน้าตาของสะพานฟันก็เหมือนฟันธรรมชาติ ๆ ไม่ต้องมีตะขอ ไม่ต้องมีแผ่นเหงือกปลอมให้เกะกะ วิธีการคือคุณหมอจะกรอฟันซี่ข้าง ๆ ของฟันที่ถูกถอนไปแล้วเพื่อใช้เป็นหลักยึดสะพานฟัน จากนั้นก็จะพิมพิ์ปากเพื่อส่งไปทำสะพานฟัน และในครั้งต่อไปที่คุณหมอนัด คุณหมอก็จะลองดูว่าสะพานฟันที่ทำมาพอดีกับในปากหรือไม่ เมื่อเช็คดูโอเคแล้วก็จะยึดสะพานฟันกับฟันของคนไข้ด้วยซีเมนต์ที่ใช้เฉพาะในช่องปาก เพียงเท่านี้ก็ได้ฟันใหม่มาใช้งานแล้วค่ะ

ทำไมสะพานฟันจึงเป็นสิ่งสำคัญ
สะพานฟันจะช่วยให้คุณยิ้มได้และรักษารูปหน้าของท่าน ไว้ นอกจากนี้ สะพานฟันยังช่วยให้คุณสามารถ เคี้ยวอาหาร พูด และวางขากรรไกรได้อย่างถูกต้อง ซึ่งช่วยป้องกันมิให้ฟันซี่อื่นๆ เคลื่อนออกจากตำแหน่ง หรือล้มลง

สะพานฟัน-02

สะพานฟันที่มักใช้บ่อยที่สุดสามประเภท ได้แก่:

1. สะพานฟันแบบธรรมดา — เป็นสะพานฟันประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในวง การทันตกรรมและทำจากเซรามิกหรือพอร์เซเลนหลอมกับเหล็ก ครอบฟันทำขึ้นสำหรับฟันทั้งสองข้างของฟันที่ หายไป (ฟันหลัก) โดยมีช่องวาง (Pontic) ระหว่างฟันทั้งสองซี่

2. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว — ซึ่งใช้ในผู้ป่วยไม่มีฟันข้างใดข้างหนึ่งของฟันที่หายไป ฟันหลักจะถูกเตรียมและฟันลอยจะถูกติดเข้าที่ปลายของฟันหลัก

3. สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ — สะพานฟันแบบนี้จะมีแกนโลหะและมีโลหะหรือพอร์เซเลนลักษณะคล้ายปีกที่ใช้ยึดติดด้านหลังของฟันหลักทั้งสองซี่ สะพานฟันแบบนี้เป็นทางเลือกที่ใช้ทดแทนสะพานฟัน แบบธรรมดา

คุณประโยชน์ของสะพานฟัน

  • ช่วยให้สามารถมีรอยยิ้มที่สวยงามได้ดังเดิม
  • ช่วยให้สามารถมีการบดเคี้ยวและการออกเสียงที่ดีได้ดังเดิม
  • ช่วยรักษารูปหน้าให้เป็นไปตามปกติ
  • ช่วยแบ่งกระจายแรงบดเคี้ยวให้เป็นไปตามปกติ
  • ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการรับแรงบดเคี้ยวที่มากเกินไปของฟันซี่ข้างเคียง
  • ช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหาการล้มของฟันซี่ข้างเคียงมายังช่องว่าง
  • ช่วยรักษาตำแหน่งและการทำงานของฟันให้เป็นไปตามธรรมชาติ
  • ช่วยรักษาการสบฟันให้เป็นไปตามปกติ

ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟัน
1. ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟันแบบธรรมดา
– ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
– การฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะกรอเพื่อเป็นฐานของสะพานฟัน
– การกรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่สะพานฟัน
– การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำสะพานฟัน
– การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
– แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อทำสะพานฟัน
– ทันตแพทย์จะทำการติดสะพานฟันแบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งานระหว่างการรอการผลิตสะพานฟันแบบถาวร

2. ขั้นตอนการติดสะพานฟัน
– การรื้อสะพานฟันแบบชั่วคราวออก
– การติดยึดสะพานฟันแบบถาวรบนฟัน การตรวจเช็คและการปรับแต่งสะพานฟันให้มีความเหมาะสมที่สุด
– ขั้นตอนการดูแลรักษา
– ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน
– ซึ่งขั้นตอนการเตรียมฟันและการติดยึดสะพานฟันนั้นอาจก่อให้เกิดการเสียวฟันได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน

ข้อปฏิบัติหลังการเข้ารับการทำสะพานฟัน
– การดูแลเอาใจใส่เพื่อสุขภาพของปากและฟันที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสะพานฟันสามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ก็ต่อเมื่อฟันที่ใช้เป็นฐานรองรับสะพานฟันมีสุขภาพแข็งแรง
– หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งภายใน 24 ชั่วโมงหลังการติดยึดสะพานฟัน
– สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดการบวมหรืออาการต่างๆได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
– ควรดูแลความสะอาดบริเวณที่ติดสะพานฟันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรคเหงือก
อาการเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางท่าน โดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน ซึ่งถ้าเกิดอาการเสียวฟันผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้ :
– หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน เย็นหรือมีความเป็นกรดสูง เช่นน้ำมะนาวเป็นต้น
– การรับประทานยาแก้ปวดสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง
– ควรเลือกใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยปัญหาการเสียวฟันได้
– ควรทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
      – ควรเริ่มด้วยการรับประทานอาหารอ่อนๆจนกว่าจะเคยชินกับสะพานฟันที่มี

วิธีการดูแลรักษาหลังเข้ารับการทำสะพานฟัน
วิธีการดูแลรักษาสะพานฟันก็ง่ายนิดเดียวค่ะ ก็แปรงฟันเหมือนฟันปกติทั่วไป แต่ต้องเน้นที่การใช้ไหมขัดฟันด้วยนะคะ โดยเฉพาะบริเวณส่วนกลางของสะพานฟัน ไหมขัดฟันจะไม่สามารถสอดผ่านเข้าไปได้ จึงจำเป็นจะต้องใช้ตัวช่วยในการร้อยไหมขัดฟันเข้าไป และที่สำคัญอย่าลืมมาพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อให้คุณหมอฟันเช็คว่า มีการผุ หรือ รั่วบริเวณสะพานฟันหรือไม่ นอกจากนี้คุณหมอจะได้ช่วยดูด้วยว่าเราทำความสะอาดได้ถูกต้องหรือยัง มีจุดไหนที่ควรเน้นเป็นพิเศษบ้างค่ะ

 

Other news

เอกซเรย์ฟันสำคัญอย่างไร?

All about Teeth

ยิ้มนี้จะสวยมากกว่าเดิม ด้วยทันตกรรมปิดช่องฟัน

All about Teeth

สุขภาพฟันเด็ก ฟลูออไรด์ต้องเพียงพอ

All about Teeth

ฟันคุดคืออะไร เป็นปัญหากับคุณจริงหรือ?

All about Teeth

เครื่องมือกันฟันล้มวัยเด็ก สำคัญแค่ไหน?

All about Teeth

ทันตกรรมเพื่อความงามด้วยวีเนียร์ (Veneer)

All about Teeth

Contact us for treatment information or directions