สะพานฟัน คืออะไร ?

               สะพานฟัน อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการจะใส่ฟันปลอม เรามาทำความรู้จักกันว่า สะพานฟัน คืออะไร แล้วเมื่อไหร่ควรจะใช้การทำสะพานฟันในการรักษาฟันค่ะ

สะพานฟัน ก็คือ ฟันปลอมชนิดที่ติดแน่น คือใส่แล้วไม่ต้องถอดเข้าถอดออกอีก พูดง่าย ๆว่าติดถาวรเหมือนฟันธรรมชาติเลย และหน้าตาของสะพานฟันก็เหมือนฟันธรรมชาติ ๆ ไม่ต้องมีตะขอ ไม่ต้องมีแผ่นเหงือกปลอมให้เกะกะ วิธีการคือคุณหมอจะกรอฟันซี่ข้าง ๆ ของฟันที่ถูกถอนไปแล้วเพื่อใช้เป็นหลักยึดสะพานฟัน จากนั้นก็จะพิมพิ์ปากเพื่อส่งไปทำสะพานฟัน และในครั้งต่อไปที่คุณหมอนัด คุณหมอก็จะลองดูว่าสะพานฟันที่ทำมาพอดีกับในปากหรือไม่ เมื่อเช็คดูโอเคแล้วก็จะยึดสะพานฟันกับฟันของคนไข้ด้วยซีเมนต์ที่ใช้เฉพาะในช่องปาก เพียงเท่านี้ก็ได้ฟันใหม่มาใช้งานแล้วค่ะ

ทำไมสะพานฟันจึงเป็นสิ่งสำคัญ
สะพานฟันจะช่วยให้คุณยิ้มได้และรักษารูปหน้าของท่าน ไว้ นอกจากนี้ สะพานฟันยังช่วยให้คุณสามารถ เคี้ยวอาหาร พูด และวางขากรรไกรได้อย่างถูกต้อง ซึ่งช่วยป้องกันมิให้ฟันซี่อื่นๆ เคลื่อนออกจากตำแหน่ง หรือล้มลง

สะพานฟัน-02

สะพานฟันที่มักใช้บ่อยที่สุดสามประเภท ได้แก่:

1. สะพานฟันแบบธรรมดา — เป็นสะพานฟันประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในวง การทันตกรรมและทำจากเซรามิกหรือพอร์เซเลนหลอมกับเหล็ก ครอบฟันทำขึ้นสำหรับฟันทั้งสองข้างของฟันที่ หายไป (ฟันหลัก) โดยมีช่องวาง (Pontic) ระหว่างฟันทั้งสองซี่

2. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว — ซึ่งใช้ในผู้ป่วยไม่มีฟันข้างใดข้างหนึ่งของฟันที่หายไป ฟันหลักจะถูกเตรียมและฟันลอยจะถูกติดเข้าที่ปลายของฟันหลัก

3. สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ — สะพานฟันแบบนี้จะมีแกนโลหะและมีโลหะหรือพอร์เซเลนลักษณะคล้ายปีกที่ใช้ยึดติดด้านหลังของฟันหลักทั้งสองซี่ สะพานฟันแบบนี้เป็นทางเลือกที่ใช้ทดแทนสะพานฟัน แบบธรรมดา

คุณประโยชน์ของสะพานฟัน

  • ช่วยให้สามารถมีรอยยิ้มที่สวยงามได้ดังเดิม
  • ช่วยให้สามารถมีการบดเคี้ยวและการออกเสียงที่ดีได้ดังเดิม
  • ช่วยรักษารูปหน้าให้เป็นไปตามปกติ
  • ช่วยแบ่งกระจายแรงบดเคี้ยวให้เป็นไปตามปกติ
  • ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการรับแรงบดเคี้ยวที่มากเกินไปของฟันซี่ข้างเคียง
  • ช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหาการล้มของฟันซี่ข้างเคียงมายังช่องว่าง
  • ช่วยรักษาตำแหน่งและการทำงานของฟันให้เป็นไปตามธรรมชาติ
  • ช่วยรักษาการสบฟันให้เป็นไปตามปกติ

ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟัน
1. ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟันแบบธรรมดา
– ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
– การฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะกรอเพื่อเป็นฐานของสะพานฟัน
– การกรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่สะพานฟัน
– การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำสะพานฟัน
– การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
– แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อทำสะพานฟัน
– ทันตแพทย์จะทำการติดสะพานฟันแบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งานระหว่างการรอการผลิตสะพานฟันแบบถาวร

2. ขั้นตอนการติดสะพานฟัน
– การรื้อสะพานฟันแบบชั่วคราวออก
– การติดยึดสะพานฟันแบบถาวรบนฟัน การตรวจเช็คและการปรับแต่งสะพานฟันให้มีความเหมาะสมที่สุด
– ขั้นตอนการดูแลรักษา
– ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน
– ซึ่งขั้นตอนการเตรียมฟันและการติดยึดสะพานฟันนั้นอาจก่อให้เกิดการเสียวฟันได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน

ข้อปฏิบัติหลังการเข้ารับการทำสะพานฟัน
– การดูแลเอาใจใส่เพื่อสุขภาพของปากและฟันที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสะพานฟันสามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ก็ต่อเมื่อฟันที่ใช้เป็นฐานรองรับสะพานฟันมีสุขภาพแข็งแรง
– หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งภายใน 24 ชั่วโมงหลังการติดยึดสะพานฟัน
– สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดการบวมหรืออาการต่างๆได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
– ควรดูแลความสะอาดบริเวณที่ติดสะพานฟันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรคเหงือก
อาการเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางท่าน โดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน ซึ่งถ้าเกิดอาการเสียวฟันผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้ :
– หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน เย็นหรือมีความเป็นกรดสูง เช่นน้ำมะนาวเป็นต้น
– การรับประทานยาแก้ปวดสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง
– ควรเลือกใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยปัญหาการเสียวฟันได้
– ควรทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
      – ควรเริ่มด้วยการรับประทานอาหารอ่อนๆจนกว่าจะเคยชินกับสะพานฟันที่มี

วิธีการดูแลรักษาหลังเข้ารับการทำสะพานฟัน
วิธีการดูแลรักษาสะพานฟันก็ง่ายนิดเดียวค่ะ ก็แปรงฟันเหมือนฟันปกติทั่วไป แต่ต้องเน้นที่การใช้ไหมขัดฟันด้วยนะคะ โดยเฉพาะบริเวณส่วนกลางของสะพานฟัน ไหมขัดฟันจะไม่สามารถสอดผ่านเข้าไปได้ จึงจำเป็นจะต้องใช้ตัวช่วยในการร้อยไหมขัดฟันเข้าไป และที่สำคัญอย่าลืมมาพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อให้คุณหมอฟันเช็คว่า มีการผุ หรือ รั่วบริเวณสะพานฟันหรือไม่ นอกจากนี้คุณหมอจะได้ช่วยดูด้วยว่าเราทำความสะอาดได้ถูกต้องหรือยัง มีจุดไหนที่ควรเน้นเป็นพิเศษบ้างค่ะ

 

ข่าวอื่นๆ

เรื่องของ “ฟัน” กับ “ความเฮง”

สาระเรื่องฟัน

ฟันผุกับทฤษฏี Iceberg

สาระเรื่องฟัน

ถ้าฟันพูดได้ จะพูดอะไรกับเราบ้าง

สาระเรื่องฟัน

ถ้าเครื่องมือจัดฟันเป็น Boyfriend Material จะเป็นยังไงกันนะ?

สาระเรื่องฟัน

ลิปสีไหนทำให้ฟันดูเหลืองและลิปสีไหนช่วยให้ฟันดูขาวขึ้น

สาระเรื่องฟัน

ทำความรู้จักกับ Tooth Fairy หรือ นางฟ้าฟันน้ำนม

สาระเรื่องฟัน

ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษา หรือสอบถามเส้นทาง