โรคเหงือกอักเสบ

               โรคเหงือกอักเสบ อีกหนึ่งโรคช่องปากที่ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าหากเหงือกของเราไม่แข็งแรงดีแล้ว ฟันของเราก็จะไม่มีฐานที่มั่นคงให้ยึดไว้ค่ะ

สาเหตุของโรคเหงือก
โรคเหงือกเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อของเหงือก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกระดูก และเนื่อเยื่อปริทันต์รอบๆที่ช่วยพยุงฟัน โรคเหงือกนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากคราบพลัค (แผ่นคราบจุลินทรีซึ่งมีลักษณะเหมือนแผ่นฟิล์มเหนียวไร้สีที่ค่อยๆเกาะรวมตัวกันบนผิวฟัน) ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติไม่สามารถขจัดคราบพลัคออกได้หมด คราบพลัคจะเริ่มก่อตัวขึ้น และสร้างเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและฟัน รวมถึงเนื้อเยื่อเหงือก และกระดูกที่ช่วยพยุงฟัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการฟันโยก ฟันหลุด หรือถูกถอนฟันออกในที่สุด

โรคเหงือกมีอาการสามระยะ

โรคเหงือกมีอาการสามระยะด้วยกัน

  • ระยะเหงือกอักเสบ:จัดว่าเป็นโรคเหงือกระยะเริ่มต้น การอักเสบนี้เกิดมาจากคราบพลัคที่ก่อตัวขึ้นมาตามรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติไม่สามารถทำความสะอาดคราบพลัคนี้ออกไปได้ การสะสมของคราบพลัคนี้จะทำให้มีสารพิษซึ่งก่อความระคายเคืองให้แก่เนื้อเยื่อเหงือกเกิดขึ้น และทำให้เหงือกอักเสบในที่สุด อาการที่สังเกตได้ง่ายก็คือการมีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน ในระยะแรกเริ่มนี้ความเสียหายที่เกิดขึ้นยังสามารถที่จะทำให้กลับมาอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์เหมือนเดิมได้ เนื่องจากกระดูก และเนื้อเยื่อโดยรอบที่ช่วยพยุงและโอบรัดฟันยังไม่ได้รับผลกระทบ
  • ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ:ในระยะนี้ กระดูกและเนื้อเยื่อที่ช่วยพยุงฟันได้ถูกทำลายจนไม่สามารถรักษาให้กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมได้แล้ว เหงือกจะเริ่มร่นและเกิดโพรงขึ้นใต้รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน ซึ่งจะทำให้เกิดคราบพลัค และมีเศษอาหารติดฟันได้ง่าย การได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่างถูกวิธี ประกอบกับการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ถูกวิธี จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เหงือกมากไปกว่านี้
  • ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย:โรคเหงือกระยะสุดท้ายนี้ กระดูกและเนื้อเยื่อพยุงฟันได้ถูกทำลายไปจนหมด ซึ่งจะทำให้เกิดการฟันเคลื่อนหรือฟันโยกได้ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการเคี้ยวที่บกพร่อง หากการรักษาอย่างเข้มข้น ไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ทันตแพทย์ก็จำเป็นที่จะต้องถอนฟันออก

สัญญาณของโรคเหงือก

สัญญาณของโรคเหงือก

โรคเหงือกสามารถเกิดได้กับคนทุกวัย แต่จะเกิดมากในวัยผู้ใหญ่ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ก็จะสามารถรักษาให้เหงือกกลับมาแข็งแรงดังเดิมได้ หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบทันตแพทย์โดยด่วน

  • เหงือกแดง บวม และเปื่อย
  • อาการเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน
  • ฟันดูมีความยาวมากขึ้น เนื่องจากเหงือกร่นลงมา
  • เหงือกที่แยกออกมาไม่แนบสนิทกับฟันจนทำให้เกิดเป็นโพรงขึ้นมา
  • เมื่อเคี้ยวอาหารแล้วฟันไม่สบฟันกันเหมือนเดิม
  • มีหนองไหลออกมาจากบริเวณฟันและเหงือก
  • มีกลิ่นปาก และมีรสชาติแย่ ในปากอยู่ตลอดเวลา

การรักษา

การรักษา

  • ทันตแพทย์จะทำความสะอาดเหงือกและฟันโดยการขูดหินปูนหรือที่เรียกว่า scaling และ ทำความสะอาดรากฟัน root planning ซึ่งมักจะไม่เจ็บหรือปวด
  • โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์
  • แพทย์อาจจะจ่ายน้ำยาบ้วนปาก
  • ดูแลฟันให้ดีเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

ค่าใช้จ่ายในการรักษา

1.ขูดหินปูน 1200 บาท

2.ขูดหินปูนเกลารากฟันให้เรียบ QUADRANT(1/4 ของปาก) ละ 2000-3000 บาท

ข้อปฏิบัติหลังการรักษา

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้ง
  • ใช้แปรงที่มีขนแปรงนุ่ม ปลายมน
  • ไม่ใช้แรงมากเกินไป
  • แปรงฟันให้ถูกต้อง
  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง
  • ตรวจฟันทุก 6 เดือน

 

Other news

เอกซเรย์ฟันสำคัญอย่างไร?

All about Teeth

ยิ้มนี้จะสวยมากกว่าเดิม ด้วยทันตกรรมปิดช่องฟัน

All about Teeth

สุขภาพฟันเด็ก ฟลูออไรด์ต้องเพียงพอ

All about Teeth

ฟันคุดคืออะไร เป็นปัญหากับคุณจริงหรือ?

All about Teeth

เครื่องมือกันฟันล้มวัยเด็ก สำคัญแค่ไหน?

All about Teeth

ทันตกรรมเพื่อความงามด้วยวีเนียร์ (Veneer)

All about Teeth

Contact us for treatment information or directions

Optimized by Optimole