โรคเหงือกอักเสบ

               โรคเหงือกอักเสบ อีกหนึ่งโรคช่องปากที่ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าหากเหงือกของเราไม่แข็งแรงดีแล้ว ฟันของเราก็จะไม่มีฐานที่มั่นคงให้ยึดไว้ค่ะ

สาเหตุของโรคเหงือก
โรคเหงือกเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อของเหงือก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกระดูก และเนื่อเยื่อปริทันต์รอบๆที่ช่วยพยุงฟัน โรคเหงือกนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากคราบพลัค (แผ่นคราบจุลินทรีซึ่งมีลักษณะเหมือนแผ่นฟิล์มเหนียวไร้สีที่ค่อยๆเกาะรวมตัวกันบนผิวฟัน) ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติไม่สามารถขจัดคราบพลัคออกได้หมด คราบพลัคจะเริ่มก่อตัวขึ้น และสร้างเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและฟัน รวมถึงเนื้อเยื่อเหงือก และกระดูกที่ช่วยพยุงฟัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการฟันโยก ฟันหลุด หรือถูกถอนฟันออกในที่สุด

โรคเหงือกมีอาการสามระยะ

โรคเหงือกมีอาการสามระยะด้วยกัน

  • ระยะเหงือกอักเสบ:จัดว่าเป็นโรคเหงือกระยะเริ่มต้น การอักเสบนี้เกิดมาจากคราบพลัคที่ก่อตัวขึ้นมาตามรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติไม่สามารถทำความสะอาดคราบพลัคนี้ออกไปได้ การสะสมของคราบพลัคนี้จะทำให้มีสารพิษซึ่งก่อความระคายเคืองให้แก่เนื้อเยื่อเหงือกเกิดขึ้น และทำให้เหงือกอักเสบในที่สุด อาการที่สังเกตได้ง่ายก็คือการมีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน ในระยะแรกเริ่มนี้ความเสียหายที่เกิดขึ้นยังสามารถที่จะทำให้กลับมาอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์เหมือนเดิมได้ เนื่องจากกระดูก และเนื้อเยื่อโดยรอบที่ช่วยพยุงและโอบรัดฟันยังไม่ได้รับผลกระทบ
  • ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ:ในระยะนี้ กระดูกและเนื้อเยื่อที่ช่วยพยุงฟันได้ถูกทำลายจนไม่สามารถรักษาให้กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมได้แล้ว เหงือกจะเริ่มร่นและเกิดโพรงขึ้นใต้รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน ซึ่งจะทำให้เกิดคราบพลัค และมีเศษอาหารติดฟันได้ง่าย การได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่างถูกวิธี ประกอบกับการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ถูกวิธี จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เหงือกมากไปกว่านี้
  • ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย:โรคเหงือกระยะสุดท้ายนี้ กระดูกและเนื้อเยื่อพยุงฟันได้ถูกทำลายไปจนหมด ซึ่งจะทำให้เกิดการฟันเคลื่อนหรือฟันโยกได้ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการเคี้ยวที่บกพร่อง หากการรักษาอย่างเข้มข้น ไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ทันตแพทย์ก็จำเป็นที่จะต้องถอนฟันออก

สัญญาณของโรคเหงือก

สัญญาณของโรคเหงือก

โรคเหงือกสามารถเกิดได้กับคนทุกวัย แต่จะเกิดมากในวัยผู้ใหญ่ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ก็จะสามารถรักษาให้เหงือกกลับมาแข็งแรงดังเดิมได้ หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบทันตแพทย์โดยด่วน

  • เหงือกแดง บวม และเปื่อย
  • อาการเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน
  • ฟันดูมีความยาวมากขึ้น เนื่องจากเหงือกร่นลงมา
  • เหงือกที่แยกออกมาไม่แนบสนิทกับฟันจนทำให้เกิดเป็นโพรงขึ้นมา
  • เมื่อเคี้ยวอาหารแล้วฟันไม่สบฟันกันเหมือนเดิม
  • มีหนองไหลออกมาจากบริเวณฟันและเหงือก
  • มีกลิ่นปาก และมีรสชาติแย่ ในปากอยู่ตลอดเวลา

การรักษา

การรักษา

  • ทันตแพทย์จะทำความสะอาดเหงือกและฟันโดยการขูดหินปูนหรือที่เรียกว่า scaling และ ทำความสะอาดรากฟัน root planning ซึ่งมักจะไม่เจ็บหรือปวด
  • โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์
  • แพทย์อาจจะจ่ายน้ำยาบ้วนปาก
  • ดูแลฟันให้ดีเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

ค่าใช้จ่ายในการรักษา

1.ขูดหินปูน 1200 บาท

2.ขูดหินปูนเกลารากฟันให้เรียบ QUADRANT(1/4 ของปาก) ละ 2000-3000 บาท

ข้อปฏิบัติหลังการรักษา

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้ง
  • ใช้แปรงที่มีขนแปรงนุ่ม ปลายมน
  • ไม่ใช้แรงมากเกินไป
  • แปรงฟันให้ถูกต้อง
  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง
  • ตรวจฟันทุก 6 เดือน

 

ข่าวอื่นๆ

เอกซเรย์ฟันสำคัญอย่างไร?

สาระเรื่องฟัน

ยิ้มนี้จะสวยมากกว่าเดิม ด้วยทันตกรรมปิดช่องฟัน

สาระเรื่องฟัน

สุขภาพฟันเด็ก ฟลูออไรด์ต้องเพียงพอ

สาระเรื่องฟัน

ฟันคุดคืออะไร เป็นปัญหากับคุณจริงหรือ?

สาระเรื่องฟัน

เครื่องมือกันฟันล้มวัยเด็ก สำคัญแค่ไหน?

สาระเรื่องฟัน

ทันตกรรมเพื่อความงามด้วยวีเนียร์ (Veneer)

สาระเรื่องฟัน

ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษา หรือสอบถามเส้นทาง

Optimized by Optimole