ฟันยาง ช่วยแก้โรคนอนกรน ได้จริงหรือ?

               ฟันยาง ช่วยผู้ที่มีอาการนอนกรนได้ จริงหรือ? แล้วฟันยางคืออะไร เรามีคำตอบมาให้คุณค่ะ

ฟันยางแก้อาการนอนกรนได้
คุณเชื่อหรือไม่ว่า ฟันยางแก้อาการนอนกรน,ครอบฟันยางกันนอนกรน ช่วยแก้ปัญหาการนอนกรนให้คุณได้  สำหรับท่านที่มีปัญหาการนอนกรน สร้างความรำคาญให้ผู้อื่นด้วยเสียงกรนที่รุนแรง จนคนรอบข้างทนไม่ไหว อุปกรณ์ทางทันตกรรมทั้งหลายที่คุณเคยใช้มาแล้ว ถ้าคุณคิดว่าอุปกรณ์เหล่านั้นยังไม่ดีพอ ลองเปลี่ยนมาใช้ฟันยางกันนอนกรน ชนิด Dual Tray ลองดูแล้วท่านจะรู้ว่า เสียงนอนกรนอันน่ารำคาญของคุณจะลดลงอย่างน่าพอใจ ความพิเศษของฟันยางชนิดนี้คือ ทำด้วยซิลิโคนอย่างดี อ่อนนุ่ม ลักษณะสีโปร่งใส ถูกออกแบบมาสำหรับคนเอเชียโดยเฉพาะ

เครื่องมือในช่องปากช่วยรักษานอนกรนและหยุดหายใจได้อย่างไร?

สมาคมแพทย์เฉพาะทางการนอนแห่งอเมริกา (American Academy of Sleep Medicine) แนะนำให้ผู้ป่วยใช้เครื่องมือในช่องปาก กรณีที่มีอาการหยุดหายใจในระดับน้อยถึงระดับปานกลางหรือเป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงแต่ไม่สามารถใช้เครื่องเป่าลมได้

ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องมือในขณะนอนหลับทุกคืน เครื่องมือจะทำให้ขากรรไกรล่างและโคนลิ้นยื่นไปด้านหน้าทำให้ช่องทางเดินหายใจในคอให้โล่งขึ้น การหายใจสะดวกไม่ติดขัด นอนหลับสนิท ไม่กระสับกระส่ายหรือสะดุ้งตื่น และเสียงกรนลดลง การศึกษาวิจัยพบว่าประสิทธิผลของเครื่องมือในช่องปากช่วยลดความรุนแรงการหยุดหายใจมากกว่าร้อยละ 50 ได้ผลสูงถึงร้อยละ 81 ลดการหยุดหายใจจนกลับมาหายใจเป็นปกติได้ผลร้อยละ 63 และคงประสิทธิผลในระยะยาว 4 ปี จึงช่วยทำให้อาการของโรคความดันโลหิต โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ได้ผลดีมากขึ้น ผู้ป่วยทุกคนต้องควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป ออกกำลังกาย งดการดื่มเหล้าและ งดการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะก่อนนอน

บทความดีๆจาก ผศ.ทพญ.ดร.เปรมทิพย์ ชลิดาพงศ์

ฟันยางกันกระแทก หรือ Night Guard
ฟันยางกันกระแทก หรือ Night Guard คืออุปกรณ์ที่สวมเพื่อปกป้องฟัน ฟันยางเป็นอุปกรณ์กีฬาที่สำคัญสำหรับทุกคนที่เล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทก หรือมีวัตถุที่ลอย อาทิเช่น ฟุตบอล
บาสเกตบอล เบสบอล ฮอคกี้ สเกตบอร์ด ยิมนาสติก จักรยานภูเขา และกิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดความบาดเจ็บกับปาก

ฟันยางมักจะใช้ครอบคลุมที่ฟันบนและป้องกันการแตกหักของฟัน การกัดริมฝีปาก และความบาดเจ็บอื่น ๆ ต่อปากและฟัน ถ้าคุณกำลังใส่เครื่องจัดฟันหรือเครื่องทันตกรรมอื่นๆ (เช่น ที่ยึดฟันปลอมหรือบริดจ์) ที่ฟันล่าง ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใส่อุปกรณ์อื่นเพื่อปกป้องฟันเหล่านั้นด้วยเช่นกัน

mouthpiece-02

ประเภทของฟันยางมีอะไรบ้าง
ไม่ว่าคุณจะเลือกฟันยางชนิดใดก็ตาม ควรเป็นชนิดที่มีความยืดหยุ่น คงทนต่อการฉีกขาด และมีความสะดวกสบาย นอกจากนี้ ฟันยางควรจะมีขนาดพอดีปาก และไม่รบกวนการพูดหรือการหายใจ ฟันยางมี 3 ชนิดดังนี้

  1. ฟันยางแบบสั่งทำขึ้นเฉพาะ — ฟันยางชนิดนี้จะทำขึ้นทีละชิ้นโดยทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งไม่เป็นการแปลกที่ฟันยางชนิดนี้จะให้ความสบายในการสวมใส่ที่สุด และปกป้องได้ดีที่สุด ทันตแพทย์จะต้องทำการพิมพ์ฟันของคุณเพื่อสร้างฟันยาง เนื่องจากเป็นชนิดที่ใส่พอดีและสบายกว่า นักกีฬามักจะเลือกใช้ อย่างไรก็ตามฟันยางชนิดนี้จะมีราคาแพง
  2. ฟันยางกึ่งสำเร็จรูป — ฟันยางชนิดนี้จะเป็นแบบที่ขึ้นรูปมาก่อนซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงได้ด้วยการต้มในน้ำและกัดเพื่อให้พอดีกับปากของเรา ฟันยางชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาทั่วไป และจะให้ความพอดีกว่าฟันยางแบบทั่วไป ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ฟันยางที่มีขนาดพอดีกับปากที่สุด
  3. ฟันยางสำเร็จรูป — ฟันยางชนิดนี้ราคาไม่แพงและมาในรูปแบบฟันยางที่สามารถสวมใส่ได้ทันที แต่อย่างไรก็ตาม ฟันยางชนิดนี้จะไม่พอดีกับปากมากนัก และอาจดูเทอะทะ ทำให้การพูดหรือหายใจลำบาก

ฟันยางสามารถอยู่ได้นานเท่าใด

  • ฟันยางควรจะต้องมีการเปลี่ยนหลังจากการใช้ทุกครั้งเพราะว่าจะมีการเสื่อมไปทุกครั้งที่ใส่และทำให้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร การเปลี่ยนฟันยางมีความจำเป็นมากโดยเฉพาะในวัยรุ่น เนื่องจากปากและฟันมีการเติบโตตลอดเวลา นักกีฬาหลายคนมักจะสั่งทำฟันยางทุกๆ 6 เดือนที่ไปทำการตรวจฟัน
  • ทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งานด้วยน้ำสะอาด
  • เก็บในกล่องหรือภาชนะ ที่มีสำลีชุบน้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันเครื่องมือผิดรูป หรือแตกง่าย
  • สามารถทำความสะอาดร่วมกับการใช้เม็ดฟู่ทำความสะอาดฟันปลอม เพื่อขจัดคราบฝังแน่

ทราบแบบนี่แล้ว คุณคงจะเห็นความสำคัญของ ฟันยาง กันแล้วนะค่ะ อย่าลืมดูแลสุขภาพช่องฟันของคุณ เริ่มต้นด้วยการพบทันตแพทย์อย่างต่อเนื่อง และหมั่นดูแลสุขภาพฟันของตัวคุณตลอด

 

Other news

เอกซเรย์ฟันสำคัญอย่างไร?

All about Teeth

ยิ้มนี้จะสวยมากกว่าเดิม ด้วยทันตกรรมปิดช่องฟัน

All about Teeth

สุขภาพฟันเด็ก ฟลูออไรด์ต้องเพียงพอ

All about Teeth

ฟันคุดคืออะไร เป็นปัญหากับคุณจริงหรือ?

All about Teeth

เครื่องมือกันฟันล้มวัยเด็ก สำคัญแค่ไหน?

All about Teeth

ทันตกรรมเพื่อความงามด้วยวีเนียร์ (Veneer)

All about Teeth

Contact us for treatment information or directions