ปัญหาเล็กๆ อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ ที่คุณคาดไม่ถึง ถ้าไม่รีบดูแล ถ้าสาเหตุเกิดจากสิ่งนี้…
“นิ่วทอนซิล” สาเหตุของกลิ่นปากที่คุณอาจยังไม่รู้ ทำความรู้จักกับ นิ่วทอนซิล สาเหตุ อาการ และการรักษานิ่วทอนซิล
ต่อมทอนซิล คืออะไร ?
ต่อมทอนซิล คือ ต่อมน้ำเหลืองสองต่อมที่สร้างอยู่ในช่องปาก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีอยู่ในลำคอ ต่อมทอนซิลเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อประเภทต่อมน้ำลาย ต่อมทอนซินมีหน้าที่หลักในการดักจับ และทำลายเชื้อโรคที่ลงสู่ลำคอไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย และสร้างภูมิคุ้มกันโรค
ต่อมทอนซิลมีทั้งหมด 3 ตำแหน่ง
1. ต่อมทอนซิลที่อยู่ในช่องปาก
2. ต่อมทอนซิลที่โคนลิ้น
3. ต่อมทอนซิลที่ช่องหลังโพรงจมูก
และด้วยกระบวนการหน้าที่หลักของต่อมทอนซิลที่คอยดักจับเชื้อโรคมาไว้ที่ซอกหลืบของบริเวณคอ ทำให้บางครั้งก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนิ่วทอนซิล (Tonsillolith)
โรคนิ่วทอนซิล (Tonsillolith) เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
สาหตุของการเกิดนิ่วทอนซิล คือการที่มีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ในซอกหลืบ และเข้าไปอุดที่ท่อทอนซิล เมื่อเกิดการสะสมมากยิ่งขึ้น แบคทีเรียและเอนไซม์จะทำการย่อยสลายตามกระบวนการธรรมชาติ จนมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวเหลืองมักจะออกมาจากบริเวณร่องของต่อมทอนซิล
นิ่วทอนซิลมีอาการอย่างไร ?
- รู้สึกคล้ายกับว่ามีก้างปลาติดคอ
- รับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ จะมีความรู้สึกเหมือนติดคอ
- มีกลิ่นปาก
- เจ็บคอ หรือไอเรื้อรัง
- บางครั้งรสชาติอาหารผิดไป รู้สึกเหมือนรสโลหะ
- เมื่อก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่มากพอ เพียงแค่คุณอ้าปาก ก็สามารถมองเห็นก้อนสีขาวๆ เหลืองที่เรียกว่า นิ่วทอนซิลได้
อายุเท่าใดจึงสามารถเป็นนิ่วทอนซิลได้ ?
- สามารถเป็นนิ่วทอนซิลได้ในทุกช่วงวัย นิ่วทอนซิลสามารถเป็นได้ตั้งแต่เด็กจนไปถึงผู้สูงวัย แต่พบมากในช่วงอายุวัยรุ่น
นิ่วทอนซิลทำให้เกิดกลิ่นปากได้อย่างไร ?
สาเหตุเกิดจากการหมักหมมของน้ำลายผสมกับอาหาร เศษเนื้อที่ตายแล้วของต่อมทอนซิล และแบคทีเรียที่ไม่ต้องการอากาศ ที่เป็นตัวสร้างแก๊สไข่เน่ารอบ ๆ ก้อนนิ่ว เมื่อลมหายใจผ่านก้อนนิ่วนี้ออกมา ก็จะสิ่งกลิ่นเหม็น
นิ่วทอนซิล อันตรายไหม ?
ไม่รุนแรง ไม่อันตราย ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ทำให้คุณมีกลิ่นปาก และสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก แม้ว่าจะรักษาอาการให้หายได้แล้วก็ตาม
วิธีป้องกันนิ่วทอนซิลอย่างไร ?
การป้องกันนิ่วทอนซิลเป็นเรื่องยาก ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากต่อมทอนซิลมีซอกหลืบอยู่ จึงยากที่จะห้ามไม่ให้อาหารตกค้างได้ แต่เนื่องจากพบนิ่วทอนซิลได้บ่อยขึ้นเมื่อเกิดอาการต่อมทอนซินอักเสบ หรือมีการอักเสบที่คอเรื้อรัง จึงกล่าวได้ว่าหากหลีกเลี่ยงการติดเชื้อของช่องปาก ช่องคอ ระบบทางเดินหายใจ รวมถึงการป้องกันโรคกรดไหลย้อน
วิธีการรักษานิ่วทอนซิลแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ
การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
- กดบริเวณต่อมทอนซิลด้วย ก้านสำลี แปรงสีฟัน ไม้แคะหูพันสำลี หรือของที่ไม่มีความคม และกดด้วยความเบามือ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
- ทำความสะอาดมือ และนิ้วมือให้สะอาด หลังจากนั้นใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในปาก พร้อมทั้งกดบริเวณส่วนล่างของต่อมทอนซิล เพื่อให้นิ่วทอนซิลจะได้หลุดออก
- กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ การกลั้วคอแรงๆ อาจช่วยให้นิ่วทอนซิลหลุดออกมา
- พ้นน้ำทำความสะอาดที่ต่อมทอนซิล เพื่อให้นิ่วทอนซิลหลุดออกมา
- ใช้นิ้วมือนวดบริเวณขากรรไกร เพราะจะตรงกับจุดต่อมทอนซิลพอดี เพื่อกระตุ้นให้นิ่วหลุดออก
การรักษาโดยการผ่าตัด
- ใช้กรด trichloracetic acid หรือเลเซอร์ (laser tonsillotomy) จี้ต่อมทอนซิลเพื่อเปิดขอบร่องของต่อมทอนซิลให้กว้าง ไม่ให้เป็นซอกหลืบ ที่จะเป็นที่สะสมของสิ่งต่าง ๆ ได้อีก ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่
- การตัดต่อมทอนซิลออก วิธีนี้จะเป็นการรักษาที่หายขาดที่สุด